การพยากรณ์ฤดูกาล ของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559

วันที่พยากรณ์โดย
TSR
จำนวน
พายุโซนร้อน
จำนวน
พายุไต้ฝุ่น
จำนวน
พายุรุนแรง
ดัชนีเอซีอีอ้างอิง
ค่าเฉลี่ย (2508–2558)26169298[1]
7 พฤษภาคม 255922136217[1]
6 กรกฎาคม 255922137239[2]
8 สิงหาคม 255922137231[3]
วันที่พยากรณ์ศูนย์พยากรณ์ช่วงเวลาระบบพายุอ้างอิง
8 มกราคม 2559PAGASAมกราคม — มีนาคม1–2 ลูก[4]
PAGASAเมษายน — มิถุนายน1–3 ลูก[4]
28 มิถุนายน 2559CWB1 มกราคม — 31 ธันวาคมพายุโซนร้อน 19–23 ลูก[5]
15 กรกฎาคม 2559PAGASAกรกฎาคม — กันยายน5–11 ลูก[6]
PAGASAตุลาคม — ธันวาคม4–9 ลูก[6]
ศูนย์พยากรณ์พายุหมุนเขตร้อนพายุโซนร้อนพายุไต้ฝุ่นอ้างอิง
เกิดขึ้นจริง:JMA502613
เกิดขึ้นจริง:JTWC302413
เกิดขึ้นจริง:PAGASA14139

ในระหว่างฤดูกาล หลายหน่วยงานอุตุนิยมวิทยาและหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์ของแต่ละประเทศจะมีการคาดการณ์ของพายุหมุนเขตร้อน, พายุโซนร้อนและพายุไต้ฝุ่น ที่จะก่อตัวในช่วงฤดู และ/หรือ จะมีพายุกี่ลูกที่ส่งผลกระทบต่อประเทศนั้น หลายหน่วยงานนี้ได้รวมไปถึงองค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อน (TSR) ของมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน, สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) และสำนักสภาพอากาศกลางของไต้หวันด้วย ซึ่งบางส่วนของการคาดการณ์ได้นำสิ่งที่เกิดขึ้นในฤดูกาลก่อนไปพิจารณาด้วย และยังมีการสังเกตการณ์ภาวะเอลนีโญในช่วงปีด้วย การพยากรณ์แรกเป็นของ PAGASA ซึ่งออกเผยแพร่ในช่วงเดือนมกราคม เป็นการคาดการณ์แนวโน้มสภาพภูมิอากาศในช่วงเดือนมกราคมถึงมิถุนายน[4] โดยมีการตั้งข้อสังเกตว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อน 1–2 ลูก ก่อตัวในช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม ในขณะที่อีก 1–3 ลูก จะก่อตัวหรือเคลื่อนเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ ในช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน[4]

ช่วงเดือนมีนาคม หอสังเกตการณ์ฮ่องกง พยากรณ์ว่าฤดูกาลพายุไต้ฝุ่นในฮ่องกงจะใกล้เคียงกับปกติ โดยมีพายุหมุนเขตร้อนกำลังแรงสี่ถึงเจ็ดลูกเคลื่อนผ่านในระยะ 500 กม. (310 ไมล์) เทียบกับค่าเฉลี่ยที่หกลูก[7] ในวันที่ 7 พฤษภาคม องต์การความเสี่ยงพายุโซนร้อนออกการพยากรณ์ฉบับแรกของฤดูกาล และพยากรณ์ว่าฤดูกาลนี้เป็นฤดูกาลที่สงบเงียบ โดยจะมีพายุโซนร้อน 22 ลูก พายุไต้ฝุ่น 13 ลูก และพายุไต้ฝุ่นรุนแรง 11 ลูกพัฒนาขึ้นในระหว่างปี ขณะที่ดัชนีเอซีอีถูกพยาการณ์ไว้ที่ 217[1]

เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน สำนักสภาพอากาศกลางไต้หวันพยากรณ์ว่าจะมีพายุโซนร้อนระหว่าง 19–23 ลูกก่อตัวเหนือแอ่ง ขณะที่คาดว่า 2–4 ลูกจะส่งผลกระทบกับไต้หวัน[5] วันที่ 6 กรกฎาคม TSR ออกการพยากรณ์ซึ่งตัวเลขเหมือนกับก่อนหน้า เว้นแต่ตัวเลขของพายุไต้ฝุ่นรุนแรงถูกปรับเพิ่มเป็น 7[2] ต่อมา PAGASA ได้ประกาศการคาดการณ์ฉบับที่สองและฉบับสุดท้ายของปีในวันที่ 15 กรกฎาคม ภายในการคาดหมายภูมิอากาศฤดูกาลช่วงกรกฎาคม – ธันวาคม[6] ในการคาดหมายบันทึกไว้ว่าพายุหมุนเขตร้อน 5–11 ลูก คาดว่าจะก่อตัวหรือเคลื่อนเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ในระหว่างเดือนกรกฎาคมและกันยายน ขณะที่อีก 4–9 ลูก คาดว่าจะเกิดขึ้นในระหว่างเดือนตุลาคมและธันวาคม[6] ต่อมา TSR ได้ออกการคาดการณ์สุดท้ายสำหรับฤดูกาลเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม โดยคงจำนวนตัวเลขพายุหมุนเขตร้อนไว้ แต่ลดปริมาณของ ACE ลงกว่าฉบับที่แล้ว[3]

กรมอุตุนิยมวิทยาไทย

เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559 กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกการคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูฝนของประเทศไทย พ.ศ. 2559 ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย 2 ลูก โดยมีโอกาสสูงที่จะเคลื่อนผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือในช่วงเดือนสิงหาคมหรือกันยายน 1 ลูก และอีก 1 ลูกจะเคลื่อนผ่านภาคใต้ในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน[8]

ใกล้เคียง

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2546 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2566 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2547 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2565 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2558

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559 http://199.9.2.143/tcdat/tc16/WPAC/05W.MIRINAE/tra... http://www.ctvnews.ca/world/death-toll-rises-to-15... http://www.globaltimes.cn/content/1013460.shtml http://www.mca.gov.cn/article/yw/jzjz/zqkb/zqhz/20... http://www.mca.gov.cn/article/yw/jzjz/zqkb/zqhz/20... http://www.mca.gov.cn/article/yw/jzjz/zqkb/zqhz/20... http://tcdata.typhoon.gov.cn/en/ http://tcrr.typhoon.gov.cn/EN/article/downloadArti... http://www.nmc.cn/publish/typhoon/warning.html http://www.australiasevereweather.com/cyclones/200...